หน้าแรก เกี่ยวกับหน่วยงาน การจัดบริการ ข่าวและกิจกรรม กิจกรรมและโครงการพิเศษ เรื่องที่เกี่ยวข้อง กระดานสนทนา
 

 
การดูแลทางด้านจิตใจ สังคมผู้สูงอายุ
ระเบียบจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เกิน ๖๐ ปีบริบูรณ์
   
   
   
   
   
   
   
ผลการสำรวจการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุและการตระหนักเห็นคุณค่าของผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๕๒
สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความรู้และทัศนคติที่มีต่อผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๕๐
ประมวลสถิติสำคัญของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๒
   
อาการที่สำคัญในผู้สูงอายุ โดย รศ.พญ.วรพรรณ เสนาณรงค์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
สิ่งแวดล้อมที่เกี้อกูลผู้สูงวัยที่มีภาวะพึ่งพา โดย อ.ดร.วิริยา พึ่งทอง
การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ โดย รศ.พญ.วิไล คุปต์นิรัติศัยกุล
การออกกำลังกายในผู้สูงอายุทั่วไป โดย ดร.วิมลวรรณ เหียงแก้ว
คู่มือปฏิบัติการ การตรวจสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุ โดย อ.ศรีวรรณ ปัญติ
   
บทความ เรื่อง ผู้สูงอายุในกฎหมายไทย โดย ณัฐภัทร ถวัลยโพธิ
เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในสถานบริการและชุมชน
ระหว่างวันที่ ๑-๓ กันยายน ๒๕๕๒
เอกสารประกอบการบรรยายการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "การพัฒนางานในคลินิกผู้สูงอายุ รุ่นที่ ๔"
ระหว่างวันที่ ๒๗-๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๒
เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง การถ่ายทอดเทคโนโลยีองค์ความรู้
รูปแบบเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุ ครั้งที่ ๑๘  ระหว่างวันที่ ๓๐ มิถุนายน - ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๒
   
   
   
 
ทำเนียบองค์กร ชมรมด้านผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๕๓ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้จัดทำ: สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สท)
คำอธิบาย: หนังสือดังกล่าวได้ปรับปรุงข้อมูลทำเนียบองค์กร ชมรมด้านผู้สูงอายุ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้เป็นปัจจุบันมากยิ่งขึ้น ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่ง จากสาขาสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ ประจำจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด สำนักงานเทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล โดยหนังสือดังกล่าวจะเกิดประโยชน์ต่อหน่วยงาน องค์กร ที่ทำงานเกี่ยวข้องในการส่งเสริมและพัฒนางานด้านผู้สูงอายุ ตลอดจนอำนวยความสะดวกในการประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรเครือข่ายผู้สูงอายุด้วยต่อไป
  [คลิก เพื่ออ่านรายละเอียด]
รายงานการจัดสมัชชาผู้สูงอายุระดับชาติ ปี ๒๕๕๓
ผู้จัดทำ: สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สท)
คำอธิบาย: การจัดสมัชชาผู้สูงอายุระดับชาติ ปี ๒๕๕๓ โดยคณะกรรมการจัดประชุมสมัชชาผู้สูงอายุกำหนดหัวเรื่อง "การบริหารจัดการงานผู้สูงอายุในระดับท้องถิ่น" เมื่อวันที่ ๗-๘ เมษายน ๒๕๕๓ ณ โรงแรมรามา การ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างแนวทางการดำเนินงานผู้สูงอายุให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาทิ การจัดทำระบบฐานข้อมูลผู้สูงอายุทั่วประเทศ การเสริมสร้างศักยภาพการทำงานด้านผู้สูงอายุ การบูรณาการสวัสดิการสังคมและสุขภาพเพื่อให้เกิดการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว และกำหนดให้มีแผนงาน โครงการ กิจกรรมด้านผู้สูงอายุ โดยบรรจุอยู่ในแผนและงบประมาณของ อปท. ทุกปี เป็นต้น โดยร่วมบูรณาการความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนผ่านกระบวนการนำเสนอจากผู้สูงอายุ นักวิชาการ นักปฏิบัติจากส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น ๓๐๐ คน
  [คลิก เพื่ออ่านรายละเอียด]

คู่มือการดำเนินงานการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้สุงอายุในชุมชน

คู่มือการดำเนินงานการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้สุงอายุในชุมชน
ตัวแบบ (Model) การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุในชุมชน (community Care)
ผู้จัดทำ: สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สท)
คำอธิบาย: เอกสารฉบับนี้ ได้รวบรวมสาระสำคัญของการดำเนินงานการคุ้มครอง และพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุในชุมชนไว้ เพื่อเป็นแนวทางที่หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่จะใช้เป็นคู่มือในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่เพื่อการนี้ โดยควรที่จะนำรายละเอียดในตัวแบบ ซึ่งเป็นอุดมทัศนีย์ที่กำหนดมาจากการวิจัยทดลองไปเป็นแนวทางดำเนินงานอย่างครบถ้วน เพื่อให้ผลที่เกิดขึ้นสามารถตอบสนองต่อความต้องการ ความจำเป็น และการบรรลุถึงการได้รับสิทธิต่างๆ ของผู้สูงอายุในชุมชนอย่างแท้จริง
  [คลิก เพื่ออ่านรายละเอียด]

คู่มือการดำเนินงานอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) ฉบับย่อ

คู่มือการดำเนินงานอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) ฉบับย่อ
ผู้จัดทำ: สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สท)
คำอธิบาย: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สท.) ได้ดำเนินโครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (อผส.) ส่งเสริมให้เกิดระบบงาน อผส. เพื่อเป็นกลไกในระดับฐานรากของชุมชน โดยมีอาสาสมัคร ซึ่งเป็นคนภายในชุมชนที่ได้รับการฝึกอบรม ฝึกทักษะ เสริมสร้างทัศนคติ ให้มีความสามารถปฏิบัติหน้าที่ พื้นที่ละอย่างน้อย ๔๐ คน ไปให้ความคุ้มครองสวัสดิภาพและพิทักษ์ผู้สูงอายุที่ขาดผู้ดูแล ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ถูกทอดทิ้ง ถูกทิ้งให้อยู่ตามลำพัง ถูกละเลยเพิกเฉย ได้รับการดูแลไม่ถูกต้อง ยากจน ฯลฯ โดยเป็นมาตรการเชิงรุกทางสังคมที่มุ่งเข้าไปดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุถึงตัวบ้านพัก ซึ่งผู้สูงอายุเหล่านี้ล้วนเป็นผู้สูงอายุที่ขาดผู้ดูแล ประสบปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อน ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ รวมทั้งให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ผู้สูงอายุอื่นทั่วไปในชุมชน  

หนังสือเล่มนี้ได้สรุปความเป็นมา จุดมุ่งหมาย หลักการสำคัญ ผลดีที่เกิดจากการดำเนินงาน อผส. ตลอดจนขั้นตอนการดำเนินงาน โดยการเรียบเรียงและนำเสนอด้วยภาษาและรูปแบบอย่างง่ายสำหรับเป็นคู่มือของผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามโครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.)
  [คลิก เพื่ออ่านรายละเอียด]

คู่มือการใช้หลักสูตรพื้นฐานการอบรมเพื่อเป็น อผส. ฉบับใหม่ ปี ๒๕๕๒

คู่มือการดำเนินงานอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) ฉบับย่อ
ผู้จัดทำ: สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สท)
คำอธิบาย: เพื่อเป็นการเสริมสร้างอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (อผส.) ให้มีคุณลักษณะและคุณภาพบนมาตรฐานเดียวกัน คณะอนุกรรมการบูรณาการขยายผลโครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้านในคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ได้แต่งตั้งและมอบหมายให้คณะทำงานพิจารณาหลักสูตรพื้นฐานการอบรมเพื่อเป็นอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน กำหนดหลักสูตรกลางในการอบรมเพื่อเป็นอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน เพื่อให้หน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำไปใช้อบรมให้มีอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ให้เกิดขึ้นในชุมชนของตนเองต่อไป โดยเอกสารฉบับนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน มีความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่ดีต่อการดูแลผู้สูงอายุ และสามารถดูแลผู้สูงอายุเบื้องต้นได้อย่างเหมาะสม
  [คลิก เพื่ออ่านรายละเอียด]

รายงานผลการประชุมสมัชชาผู้สูงอายุระดับชาติ ปี ๒๕๕๒
ผู้จัดทำ: สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สท)
คำอธิบาย: สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สท.) ได้จัดการประชุมสมัชชาผู้สูงอายุระดับชาติ ปี ๒๕๕๒ เรื่อง การดูแลผู้สูงอายุ ขึ้นเมื่อวันที่ ๗-๘ เมษายน ๒๕๕๒ ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมผู้สูงอายุ ตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๖๔) และพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๑๑ (๔) ผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม โดยผู้เข้าร่วมประชุมได้ร่วมกันเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานเรื่อง "การดูแลผู้สูงอายุ" ในเวทีการประชุมสมัชชาผู้สูงอายุระดับชาติ ปี ๒๕๕๒ อันเป็นแนวทางการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุระดับชาติที่เกิดจากความต้องการจากกลุ่มผู้สูงอายุโดยตรง

ซึ่งผลการประชุมดังกล่าว ได้นำเสนอต่อคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) เพื่อผลักดันไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนางานด้านผู้สูงอายุในอนาคต โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุไปดำเนินการขับเคลื่อนให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
  [คลิก เพื่ออ่านรายละเอียด]
รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. ๒๕๕๑
ผู้จัดทำ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.)
คำอธิบาย: รายงานฉบับนี้เป็นรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุ ฉบับที่ ๓ ที่มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ได้จัดทำ โดยการมอบหมายของคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ในปี ๒๕๕๑ จำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุของไทยก็ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการพัฒนาประเทศที่ดีขึ้นตามลำดับ แต่เมื่อมีการเจาะลึกลงไปในรายละเอียด ก็ทำให้เห็นประเด็นสำคัญที่หลายฝ่ายต้องมาช่วยกันหาทางปรับปรุงให้ดีขึ้น

รายงานฉบับนี้ ประกอบด้วยเนื้อหาประชากรสูงอายุไทย สถานการณ์ด้านผู้สูงอายุไทย การดูแลและสวัสดิการผู้สูงอายุ การทำงาน รายได้ และการออมของผู้สูงอายุ การเข้าถึงข้อมูลการศึกษา การศึกษาการเรียนรู้ตลอดชีวิต ศักยภาพของผู้สูงอายุ สถานการณ์เด่นของผู้สูงอายุไทย ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑
  [คลิก เพื่ออ่านรายละเอียด]
การศึกษาผลการดำเนินงาน ศูนย์อเนกประสงค์สำหรับผู้สูงอายุในชุมชน
ผู้จัดทำ: สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สท)
คำอธิบาย: วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาผลการดำเนินงานของศูนย์อเนกประสงค์สำหรับผู้สูงอายุในชุมชน ดังนี้ ๑) ศึกษาผลการดำเนินงานของศูนย์ฯ ๒) เปรียบเทียบผลการดำเนินงานของศูนย์ฯ ๓) ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานศูนย์ฯ และ ๔) หาแนวทางในการดำเนินงานของศูนย์ฯ

โดยได้ศึกษาในพื้นที่ศูนย์นำร่อง ๗ แห่ง อยู่ในภูมิภาค ๖ แห่ง และกรุงเทพมหานคร ๑ แห่ง เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยการสัมภาษณ์จากผู้รับบริการในศูนย์ฯพื้นที่นำร่องทั้ง ๗ แห่ง จำนวน ๓๙๗ คน เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์เชิงลึกจากเจ้าหน้าที่ และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง : องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ ผู้แทนกระทรวงหลัก และผู้นำชุมชน

ผลการศึกษาในเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ นำมาบูรณาการกัน สรุปเป็นผลการวิจัยที่สำคัญ ดังนี้
  [คลิก เพื่ออ่านรายละเอียด]
รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๐
ผู้จัดทำ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ
คำอธิบาย: จากผลการสำรวจประชากรสูงอายุที่ผ่านมา พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลสำรวจครั้งล่าสุดปี ๒๕๕๐ พบว่าผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๑๐.๗ ในขณะที่ดัชนีผู้สูงอายุก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จนเกือบจะเป็นครึ่งหนึ่งของประชากรวัยเด็กในปี ๒๕๕๐ นอกจากนี้ ยังพบว่าอัตราส่วนเกื้อหนุนผู้สูงอายุมีแนวโน้มลดลงเหลือ ๖.๓ ในปี ๒๕๕๐ ยังพบอีกว่าผู้สูงอายุไทยที่อาศัยอยู่คนเดียวตามลำพังในครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ ๗.๗ ในปี ๒๕๕๐
  [คลิก เพื่ออ่านรายละเอียด]
คู่มือสิทธิผู้สูงอายุตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖
ผู้จัดทำ: สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ (สทส)
สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สท)
คำอธิบาย: พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ มีเจตนารมณ์เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้สูงอายได้รับสิทธิ โดยได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนในมาตรา ๑๑ ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ท้องถิ่น มีหน้าที่จัดบริการให้ผู้สูงอายุได้รับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายฉบับนี้

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงได้จัดทำหนังสือคู่มือสิทธิผู้สูงอายุตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ผู้สูงอายุได้รับทราบสิทธิ ตลอดจนหลักเกณฑ์ต่างๆ ซึ่งจะเป็นข้อมูลสำคัญต่อการใช้สิทธิตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย
  [คลิก เพื่ออ่านรายละเอียด]
กองทุนผู้สูงอายุ
ผู้จัดทำ: สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ (สทส)
สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สท)
คำอธิบาย: กองทุนผู้สูงอายุ ได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๑๓ เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายเกี่ยวกับการคุ้มครอง การส่งเสริมและการสนับสนุนผู้สูงอายุ

สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สท) มีหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินงานกองทุนผู้สูงอายุ โดยได้เริ่มให้บริการสำหรับผู้สูงอายุ/กลุ่ม/ชมรม/ศูนย์บริการ องค์กรที่ทำงานด้านผู้สูงอายุตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๐ ซึ่งในระยะแรกได้ให้การสนับสนุนใน ๒ กิจกรรม ได้แก่ การให้การสนับสนุนโครงการที่ขอรับการสนับสนุนและการให้กู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพใน ๗๖ จังหวัดทั่วประเทศ และในอนาคตจะได้ขยายกิจกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุต่อไป

เอกสารฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กองทุนผู้สูงอายุ เพื่อให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ และกิจกรรมต่างๆ ที่กองทุนผู้สูงอายุได้ให้การสนับสนุน
  [คลิก เพื่ออ่านรายละเอียด]
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องผู้สูงอายุ
ผู้จัดทำ: สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ (สทส)
สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สท)
คำอธิบาย: ในปัจจุบันสังคมไทยกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุแล้ว เนื่องจากมีจำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นผลสืบเนื่องจากความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุขทำให้คนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น ในขณะเดียวกันกับภาวะทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมทำให้ประชากรวัยแรงงานต้องเข้ามาแสวงหางานทำในเมืองใหญ่ เกิดปัญหาผู้สูงอายุถูกละเลยหรือถูกทอดทิ้งเพิ่มมากขึ้น จนประสบปัญหาความเดือดร้อนในด้านต่างๆ

หนังสือฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้ต่างๆ อันเป็นประโยชน์ให้ผู้สูงอายุได้รับทราบและใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินชีวิตต่อไป
  [คลิก เพื่ออ่านรายละเอียด]
 
 

ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม (ศผส.นพ.)
๑๐๑ หมู่ ๑๓ ถนนสายนครพนม-ท่าอุเทน กม.ที่ ๒๐
ตำบลโนนตาล อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ๔๘๑๒๐
โทรศัพท์ ๐-๔๒๐๕-๐๐๕๕-๖ โทรสาร ๐-๔๒๐๕-๐๐๕๖

ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม
หน่วยงานราชการในสังกัด
กรมกิจการผู้สูงอายุ


กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์