หน้าแรก เกี่ยวกับหน่วยงาน การจัดบริการ ข่าวและกิจกรรม กิจกรรมและโครงการพิเศษ เรื่องที่เกี่ยวข้อง กระดานสนทนา FQA
 

 
ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม (ศพส.นพ) จัดประชุมชี้แจงแนงทาง ให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและจัดทำแผนขับเคลื่อน
  ๑. โครงการขับเคลื่อนระบบการดูแลและคุ้มครองทางสังคมของผู้สูงอายุในระดับพื้นที่
     
 

หลักการและเหตุผล
    ด้วยสถานการณ์สังคมที่ก้าวหน้าสู่สังคมสูงอายุของประเทศ โดยประชากรสูงอายุในวัยปลายหรือที่มีอายุมากกว่า 80 ปี ขึ้นไป มีการเพิ่มขนาดและสัดส่วนเร็วกว่าประชากรสูงอายุกลุ่มอื่น แสดงถึงอายุขัยของผู้สูงอายุซึ่งเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นสถานการณืที่สวนทางกับการเปลี่ยนแปลงของครอบครัวที่มีภาวะเจริญพันธุ์ (เด็กเกิดใหม่) ลดลง ครอบครัวมีขนาดเล็กลง สภาพความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่งผลให้ผู้สูงอายุ ที่ต้องอยู่คนเดียวหรือที่อยู่ตามลำพัง มากกว่าร้อยละ 24 และพบว่าจำนวนผู้สูงอายุที่มีความจำเป็นต้องพึ่งพาการดูแลและที่ประสบปัญหาความทุกข์ยากเดือนร้อนภายในชุมชนมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น จึงต้องมีกลไกทำหน้าที่ให้การดูแลและให้บริการผู้สูงอายุเหล่านี้ ซึ่งการก้าวสู่สังคมสูงอายุเป็นปรากฏการณ์ที่ชัดเจน ของสังคมไทยในศตวรรษที่ 2จากข้อมูลจะพบว่าประเทศไทยได้กลายเป็นสังคมผู้สูงอายุมาตั้งแต่ปี 2548 อันเป็นผลจากการที่อัตราการเกิดของคนไทยลดลง อย่างมากและชีวิตคนไทยที่ยืนยาวขึ้น สังคมไทยได้รับรู้และตระหนักถึงสถานการณ์สังคมผู้สูงอายุพอสมควรแล้ว แต่สิ่งที่สังคมยังไม่ตระหนักชัดและยังได้รับข้อมูลไม่มากนักคือ ภาพสังคมผู้สูงอายุไทยนับจากนี้เป็นต้นไป โดยโครงสร้างของประชากรจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วคลื่นประชากรรุ่นที่เกิดในช่วงปี 2506 -2526 หรือที่เรียกว่า ประชากรรุ่นเกิดล้าน ซึ่งมีอายุ 30 – 50 ปี กำลังเคลื่อนตัวกลายเป็นประชากรสูงอายุ กลุ่มใหญ่ในอีก 20 – 30 ปีข้างหน้านี้ โดยในปี พ.ศ. 2558 มีจำนวนประชากรสูงอายุคิดเป็นร้อยละ 16 ของประชากรทั้งประเทศ เป็นเพศชายจำนวน 4.6 ล้านคน และเพศหญิงจำนวน 5.7 ล้านคน และในปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ และปี พ.ศ. 2574 จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด โดยจะมีประชากรสูงอายุมากถึงร้อยละ 28 (มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย 2558) ในด้านการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุมีแนวโน้มว่าผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังคนเดียวและอยู่ตามลำพังกับคู่สมรส มีสัดส่วนสูงขึ้น จากไม่ถึงร้อยละ 10 เมื่อ 10 ปีก่อน เป็นร้อยละ 20 สัดส่วนของผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพังในเขตเมืองหรือเขตเทศบาลสูงกว่านอกเขตเทศบาล การอยู่ตามลำพังมีผลต่อการดูแลระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของผู้ดูแลและระบบการดูแลผู้สูงอายุ ทั้งในสถาบันและในชุมชน ประกอบกับการที่ผู้สูงอายุมีอายุมากขึ้นความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยก็จะสูงตามไปด้วย และโรคที่ผู้สูงอายุมักจะเป็นโรคเรื้อรังซึ่งต้องการ การดูแลใกล้ชิดระยะยาว และภายใต้แนวคิดการจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน และเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุแกนนำอาสาสมัคร ชุมชน องค์กรเครือข่ายภาครัฐ เอกชน มีส่วนร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การหนุนเสริม ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม ในการสร้างระบบการดูแลและคุ้มครองทางสังคมของผู้สูงอายุ ทั้งในการดูแลช่วยเหลือคุ้มครอง และพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ การส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรหลักในการให้บริการแก่ผู้สูงอายุได้อย่างครบถ้วนในทุกกิจกรรมและในทุกช่วงชีวิตของผู้สูงอายุ จึงจำเป็นต้องมีการขับเคลื่อนระบบการดูแลและคุ้มครองทางสังคมของผู้สูงอายุ เพื่อให้เกิดการพัฒนาแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและตัวของผู้สูงอายุเองให้เกิดความต่อเนื่องเป็นระบบที่จะทำให้เกิดความยั่งยืนในชุมชนต่อไป ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความมั่นคงในชีวิต
         
  วัตถุประสงค์
    เพื่อสร้างระบบการดูแลและคุ้มครองทางสังคมของผู้สูงอายุสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
       
         
  วิธีการดำเนินงาน
    ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม (ศพส.นพ) คัดเลือกพื้นที่ ที่จะดำเนินการโครงการฯ
    ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม (ศพส.นพ) จัดประชุมชี้แจงแนวทางให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและจัดทำแผนขับเคลื่อน
    ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม (ศพส.นพ) ส่งเสริม สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขับเคลื่อนตามแผนฯ
    องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขับเคลื่อนตามแผนฯ
    ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม (ศพส.นพ) ส่งเสริม นิเทศ การดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    ติดตามการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    รายงานผลการดำเนินงานต่อกรมกิจการผู้สูงอายุ
       
  กลุ่มเป้าหมายและตัวชี้วัด
    เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/และภาคีเครือข่ายในพื้นที่
       
  พื้นที่และระยะเวลาการดำเนินการ
    ระยะเวลาดำเนินการ : มกราคม 2562 - กันยายน 2562
      พื้นที่ดำเนินการ 3 พื้นที่
      1. ศพอส. ต.วังตามัว อ.เมือง จ.นครพนม
      2. ศพอส. ต.วัฒนา อ.ส่องดาว จ.สกลนคร
      3. ศพอส. ต.ตองโขบ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.นครพนม
       
  หน่วยงานที่รับผิดชอบ
    ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม (ศพส.นพ)
       
  งบประมาณ
    จากงบประมาณปี 2562 แผนงาน : บูรณาการสร้างความเสมอภาคเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ผลผลิต : โครงการพัฒนาระบบการคุ้มครองทางสังคมของผู้สูงอายุ กิจกรรมหลัก : ส่งเสริมมาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุ งบดำเนินงาน : โครงการขับเคลื่อนระบบการดูแลและคุ้มครองทางสังคมของผู้สูงอายุในระดับพื้นที่ เป้าหมาย 125 คน จำนวนเงิน 120,000 บาท
       
  ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    พื้นที่มีการขับเคลื่อนระบบการดูแลและคุ้มครองทางสังคมของผู้สูงอายุสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม
    ผู้สูงอายุมีความมั่นคงทางสังคมและคุณภาพชีวิตที่ดี
       
       
  ผลการดำเนินงาน
    โครงการขับเคลื่อนระบบการดูแลและคุ้มครองทางสังคมผู้สูงอายุในระดับพื้นที่
 

 
  ๒. โครงการปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้สูงอายุให้เหมาะสมและปลอดภัย
     
 

หลักการและเหตุผล
   

ที่อยู่อาศัย เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เป็นสถานที่ที่รวมความเป็นครอบครัวให้เป็นหนึ่งเดียว หล่อหลอมสมาชิกในสังคมมีการถ่ายทอดวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ปลูกฝังนิสัย เจตคติ ค่านิยมให้แก่ทุกคน ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของความมั่นคงของมนุษย์ที่มีความสำคัญที่สุด

การเป็นสังคมผู้สูงอายุนอกจากผู้สูงอายุจะประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพแล้วยังมีปัญหาด้านสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย โดยปัจจุบันประชากรผู้สูงอายุประเทศไทยประมาณร้อยละ ๗๕ มีถิ่นที่อยู่อาศัยในชนบท ซึ่งส่วนใหญ่มีสภาพแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุไม่มีความเหมาะสมปลอดภัย เกิดความเสี่ยงในการดำรงชีวิต จากข้อมูลของทะเบียนราษฏร์ กรมการปกครอง ปี ๒๕๕๗ ประเทศไทยมีผู้สูงอายจำนวน ๙,๑๑๐,๗๕๔ คิดเป็นร้อยละ ๑๔.๐๖ ของประชากรทั้งประเทศ และจากคาดประมาณประชากรประเทศไทยของสำนักงานเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประเทศไทยจะมีจำนวนผู้สูงอายุสูงเพิ่มมากขึ้น โดยในปี ๒๕๖๓ มีจำนวน ๑๒,๖๒๒ ล้านคน คิดเป็น ๑๗.๕๑ ปี ๒๕๗๓ จำนวน ๑๗,๖๒๔ ล้านคน คิดเป็น ๒๕.๑๒ ดังนั้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกของผูู้สูงอายุให้เหมาะสมและปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อการเตรียมความพร้อมอีกวิธีหนึ่ง ทั้งในด้านการที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายที่เปลี่ยนไปสภาพแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลง

ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนมให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ในมิติการเสริมสร้างการปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อคนทุกวัยจึงได้ดำเนินโครงการนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมอีกวิธีหนึ่ง ทั้งในด้านการจัดการที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป

         
  วัตถุประสงค์
    เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจนได้รับการปรับปรุงบ้านให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและปลอดดภัย
         
  วิธีการดำเนินงาน
    ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม (ศพส.นพ.) สำรวจข้อมูลความต้องการในการปรับปรุง/ซ่อมแซมที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ
    ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม (ศพส.นพ.) ประชาสัมพันธ์ประชุมชี้แจงโครงการฯ แก่เจ้าหน้าที่หน่วยงาน อปท. และประชาชนในพื้นที่มีความประสงค์และมีความพร้อมในการดำเนินการ
    ผู้สูงอายุ บุคคลอื่น หรือหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนยื่นคำขอให้มีการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ
   

อปท. พิจารณาคัดเลือกบ้านผู้สูงอายุ ตามคุณสมบัติและลักษณะที่กำหนดโดยวิธีการประชาคม

    อปท. จัดส่งรายชื่อผู้สูงอายุที่ผ่านการพิจารณาพร้อมหลักฐานของผู้สูงอายุให้กับศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม (ศพส.นพ.)
    ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม (ศพส.นพ.) ดำเนินการตรวจสอบ คุณสมบัติและหลักฐานให้ครบถ้วน พร้อมนำเสนอผู้มีอำนาจเพื่อพิจารณาอนุมัติ
    ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม (ศพส.นพ.) แจ้งผลการอนุมัติบ้านผู้สูงอายุให้ อปท.ทราบ และศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม (ศพส.นพ.) สนับสนุนงบประมาณในรูปแบบเช็คสั่งจ่ายให้กับ อปท. เพื่อดำเนินการปรับปรุงบ้าน
    อปท. ออกใบเสร็จรับเงินให้ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม (ศพส.นพ.) โดยดำเนินการปรับสภาพบ้านให้กับผู้สูงอายุตามระเบียบราชการ ภายใน 60 วัน หลังจากได้รับงบประมาณ โดยศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม (ศพส.นพ.) ติดตามการดำเนินงานเป็นระยะ
    อปท. รายงานผลการปรับสภาพบ้านผู้สูงอายุให้ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม (ศพส.นพ.) ทราบหลังการดำเนินการแล้วเสร็จ
    ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม (ศพส.นพ.) บันทึกข้อมูลผู้สูงอายุที่ได้รับการปรับสภาพบ้านลงในฐานข้อมูลด้านผู้สูงอายุโครงการปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้สูงอายุให้เหมาะสมและปลอดภัยทาง https://center.dop.go.th รายงานผลปรับสภาพบ้านผู้สูงอายุให้กรมกิจการผู้สูงอายุ
       
  กลุ่มเป้าหมาย/ตัวชี้วัด
    ผู้สูงอายุ ๖๐ ปี ขึ้นไปมีฐานะยากจน มีที่อยู่อาศัยไม่มีเหมาะสมและปลอดภัยต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ
       
  พื้นที่และระยะเวลาการดำเนินการ
    ระยะเวลาดำเนินการ : ธันวาคม ๒๕๖๑ - มีนาคม 2562
    จังหวัดนครพนม
         
  หน่วยงานที่รับผิดชอบ
    ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม (ศพส.นพ)
         
  งบประมาณ
    จากงบประมาณปี 2562 แผนงาน : บูรณาการสร้างความเสมอภาคเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ผลผลิต : โครงการปรับุปรุงที่อยู่อาศัยและสถานที่สาธารณะที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุและทุกวัย กิจกรรมหลัก : การปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้สูงอายุให้เหมาะสมและปลอดภัย งบอุดหนุน : โครงการปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้สูงอายุให้เหมาะสมและปลอดภัยโครงการขับเคลื่อน เป้าหมาย ๕๕ หลัง จำนวนเงิน ๑,๘๒๒,๕๐๐ บาท
       
  ผลผลิตโครงการ
    เชิงปริมาณ จำนวนบ้านผู้สูงอายุที่ได้รับการปรับปรุงให้มีความเหมาะสมและปลอดภัย เป้าหมาย ๕๕ หลัง
    เชิงคุณภาพ ผู้สูงอายุที่ได้รับการปรับปรุงที่ใช้ประโยชน์มีความพึงพอใจ
       
  ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    ผู้สูงอายุได้รับการปรับปรุงบ้านให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและปลอดภัยต่อการดำรงชีวิตขอผู้สูงอายุ
       
 

ผลการดำเนินงาน

    โครงการปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้สูงอายุให้เหมาะสมและปลอดภัย
       

 
  ๓. โครงการเสริมสร้างชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ
     
 

หลักการและเหตุผล
   

การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย สะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากร ทั้งในเมืองชนบท จากข้อมูลของทะเบียนราษฎร์กรมการปกครอง ปี๒๕๕๗ ประเทศไทยมีผู้สูงอายุจำนวน ๙๑๑๐๗๕๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๔.๐๖ ของประชากรทั้งประเทศ และจากคาดประมาณประชากรประเทศไทยของสำนักงานเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติประเทศไทยจะมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมาขึ้นโดยในปี ๒๕๖๓ มีจำนวน ๑๒.๖๒๒ ล้านคน คิดเป็น ๑๗.๕๑ ปี ๒๕๗๓ มีจำนวน ๑๗.๒๖๔ ล้านคน คิดเป็นร้อยละ ๒๕.๑๒ จากสถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้รัฐบาลต้องเร่งวางนโยบายและมาตรการต่างๆ เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ และให้การดูแลคุ้มครองให้ครอบคลุม ทั้งผู้สูงอายุที่อยู่ในสภาวะ ติดบ้าน ซึ่งมีจำนวนร้อยละ ๑๙ และสภาวะติดเตียง จำนวนร้อยละ ๑.๕ รวมทั้งการให้การส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุในสภาวะติดสังคมซึ่งจำนวนร้อยละ ๗๙.๕ ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ครอบคลุม ๔ มิติ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และสภาพแวดล้อมและบริการสาธารณะสุขซึ่งมิติด้านสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุเป็นประเด็นสำคัญประเด็นหลักหนึ่งที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้ความสำคัญ โดยเฉพาะแนวคิดเรื่องเมืองน่าอยู่ของผู้สูงอายุ (Age-Friendly) โดยที่ได้กำหนดกรอบการพิจารณาเมืองน่าอยู่สำหรับผู้สูงอายุไว้ 8 ประเด็น ดังนี้คือ

๑. ที่อยู่อาศัย

๒. การเข้าไปมีส่วนร่วมในสังคม

๓.การได้รับการยอมรับในสังคม

๔. การมีส่วนร่วมของท้องถิ่นและการจ้างงาน

๕. การเข้าถึงข้อมูลข่าสวสารและการสื่อสาร

๖. การสนับสนุนของชุมชนและการบริการด้านสุขภาพ

๗. สภาพพื้นที่ภายนอกพื้นที่และตัวอาคาร

๘. ระบบขนส่งมวลชน

ดังนั้น เพื่อให้เกิดความครอบคลุมในหลายพื้นที่และมีความต่อเนื่องอันจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และดัชนีชี้วัดความสุขคนไทยเพิ่มขึ้น ตามแนวคิดที่กรมสุขภพจิตได้ให้คำจำกัดความของความสุขว่าหมายถึง สภาพชีวิตที่เป็นสุข รวมทั้งให้เกิดความครอบคลุมในเรื่องคุณภาพชีวิตที่ดี มิติที่มี ๔ ด้าน สภาพแวดล้อมและบริการสาธารณะ ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม (ศพส.นพ) จึงได้ดำเนินโครงการเสริมสร้างชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้มีการเกื้อกูลต่อการดำรงชีวิตด้วยตนเองของผู้สูงอายุ ลดการพึ่งพิงภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชนสังคม ผ่านกลไกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งผลต่อการเข้าถึงอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ บนพื้นฐานของการเคารพของการเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุ

  วัตถุประสงค์
    เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ครอบครัว ชุมชน สังคม หน่วนงานภาคีเครือขข่ายที่เกี่ยวข้องในการเสริมสร้างชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ
    เพื่อให้มีการปรับสภาพแวดบ้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกในที่สาธารณะหรือสถานที่ที่ผู้สูงอายุทำกิจกรรมร่วมกัน/ใช้ประโยชน์ร่วมกันให้มีความเหมาะสม ปลอดภัยต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ
         
  วิธีการดำเนินงาน
    ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม (ศพส.นพ.) จัดประชุมชี้แจงแนวทางให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้นำชุมชน
    ผู้สูงอายุยื่นคำขอให้มีการเสริมสร้างชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ
    ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม (ศพส.นพ.) ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คัดเลือกสถานที่สาธารณะสถานที่ทำกิจกรรมร่วมกัน
    ประมาณการราคาวัสดุ/ค่าแรงในการปรับปรุงซ่อมแซมผู้สูงอายุ
    นำผลการพร้อมเอกสารหลักฐานเสนอผู้มีอำนาจเพื่อขอนุมัติจัดซื้อจัดจ้าง/ดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมสถานที่สาธารณะที่ทำกิจกรรมร่วมกัน
    รายงานผลการดำเนินงานต่อกรมกิจการผู้สูงอายุ
       
  กลุ่มเป้าหมาย/ตัวชี้วัด
    ผู้สูงอายุ ๖๐ ปั ขึ้นไปที่มาใช้สถานที่สาธารณะหรือสถานที่ที่ผู้สูงอายุทำกิจกรรมร่วมกัน
       
  พื้นที่และระยะเวลาการดำเนินการ
    ระยะเวลาดำเนินการ : มกราคม ๒๕๖๒ - กันยายน ๒๕๖๒
    ดำเนินการ ๒ พื้นที่ ๑. วัดป่าโพธิ์ศรี เทศบาลตำบลท่าอุเทน อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม ๒. วัดศรีบัวบาน ต.นาราชควาย อ.เมือง จ.นครพนม
         
  หน่วยงานที่รับผิดชอบ
    ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม (ศพส.นพ)
         
  งบประมาณ
    จากงบประมาณปี ๒๕๖๒ แผนงาน : บูรณาการสร้างความเสมอภาคเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ผลผลิต : โครงการส่งเสริมชุมชนที่เป็นมิตรกับสังคมของผู้สูงอายุและคนทุกวัย กิจกรรมหลัก : เสริมสร้างชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ งบดำเนินงาน : โครงการเสริมสร้างชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงอาย เป้าหมาย ๒ แห่ง
       
  ผลผลิตโครงการ
    เชิงปริมาณ ชุมชนมีการส่งเสริมการปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกในที่สาธารณะหรือสถานที่ที่ผู้สูงอายุทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น รวมช่วยพยุงตัว พื้นผิวสัมผัสทางลาด ห้องน้ำ เป็นต้นให้มีความเหมาะสมปลอดภัยต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ จำนวน ๒ แห่ง
    เชิงคุณภาพ ร้อยละ ๗๐ คนทุกวันที่ใช้ประโยชน์มีความพึงพอใจ
  ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    มีสถานที่สาธารณะหรือสถานที่ที่ผู้สูงอายุทำกิจกรรมร่วมกัน/ใช้ประโยชน์ร่วมกันให้มีความเหมาะสมปลอดภัยต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ
       
  ผลการดำเนินงาน
    โครงการเสริมสร้างชุมชนเป็นมิตรกับผู้สูงอายุ
 

 
  ๔. โครงการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ
     
 

หลักการและเหตุผล
    ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยปี พ.ศ. ๒๕๕๗ มีประชากรผู้สูงอายุ จำนวนทั้งสิ้น ๑๐,๐๑๔,๖๙๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๔.๙ ของประชากรทั้งหมด และมีจำนวนผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง หรือต้องได้รับการช่วยเหลือดูแล คิดเป็นร้อยละ ๑.๔ ของประชากรทั้งหมด สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดการณ์ว่าปี พ.ศ. ๒๕๖๔ สัดส่วนประชากรสูงอายุของไทยจะเพิ่มมากกว่าร้อยละ ๒๐ หรือผู้สูงอายุประมาณ ๑.๓ ล้านคน จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าวประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุ หรือ Ageing Society อย่างสมบูรณ์ ซึ่งจากจำนวนผู้สูงอายุที่มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งรัฐเพียงลำพังจะไม่สามารถให้ความช่วยเหลือ ดูแล ผู้สูงอายุที่มีจำนวนมากขึ้นได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ดังนั้นศูนย์ฯ จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการต้องแสวงหา เสริมสร้างและพัฒนาภาคีเครือข่ายในชุมชน เช่น ครอบครัว ชุมชน ชมรมผู้สูงอายุ และภาคประชาสังคมฯลฯ ในการร่วมืือกันในการขับเคลื่อนการดำเนินงานในการดูแลและให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุเหล่านี้ ให้มีหลักประกันทางสัีงคม มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงในชีวิต
         
  วัตถุประสงค์
    เพื่อแสวงหาภาคีเครือข่ายได้เข้ามามีส่วนร่วม และมีบทบาทในการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงในชีวิต
    เพื่อส่งเสริมให้ครอบครัว ชมรมผู้สูงอายุ และศพอส. ขับเคลื่อนการเฝ้าระวังและคุ้มครองภัยทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ
  วิธีการดำเนินงาน
    ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม (ศพส.นพ) ประสาน อปท. สำรวจข้อมูลผู้สูงอายุในพื้นที่
    ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม (ศพส.นพ) จัดทำฐานข้อมูลผู้สูงอายุในพื้นที่
    ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม (ศพส.นพ) ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วางระบบการเฝ้าระวังและคุ้มครองภัยสำหรับผู้สูงอายุ
    ติดตามและประเมินผล
    รายงานผลการดำเนินงานต่อกรมกิจการผู้สูงอายุ
         
  กลุ่มเป้าหมาย/ตัวชี้วัด
    ผู้สูงอายุ ๖๐ ปั ขึ้นไป
       
  พื้นที่และระยะเวลาการดำเนินการ
    ระยะเวลาดำเนินการ : มกราคม ๒๕๖๒ - กันยายน ๒๕๖๒
    ดำเนินการ ๓ พื้นที่ ๑. ศพอส. ต.วังตามัว อ.เมือง จ.นครพนม ๒. ศพอส. ต.วัฒนา อ.ส่องดาว จ.สกลนคร ๓. ศพอส.ต.ตองโขบ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.นครพนม
         
  หน่วยงานที่รับผิดชอบ
    ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม (ศพส.นพ)
         
  งบประมาณ
    จากงบประมาณปี ๒๕๖๒ แผนงาน : บูรณาการสร้างความมั่นคงและลดความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ผลผลิต : โครงการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมการใช้ศักยภาพทางสังคม กิจกรรมหลัก : การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้รับการคุ้มครองและส่ีงเสริมการใช้ศัีกยภาพทางสังคม งบดำเนินงาน : โครงการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ เป้าหมาย ๓ แห่ง พื้นที่ ๑๒๕ คน จำนวนเงิน ๒๓๐,๐๐๐ บาท
       
  ผลผลิตโครงการ
    เชิงปริมาณ ภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ จำนวน ๓ พื้นที่
    เชิงคุณภาพ ร้อยละ ๒๐ ของเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ
  ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคง และปลอดภัยในสังคม
    ผู้สูงอายุในชุมชนมีสถานที่ในการจัดกิจกรรมผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
    องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าของผู้สูงอายุ และเจ้าหน้าที่มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม
       
  ผลการดำเนินงาน
    โครงการส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุ ประจำปี ๒๕๕๒
 

 
  ๕. โครงการธนาคารเวลาสำหรับการดูแลผู้สูงอายุของประเทศไทย
     
 

หลักการและเหตุผล
   

ด้วยสถานการณ์ที่ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแกล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยมีประชากรผู้สูงอายุร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ และในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ มีจำนวนประชากรสูงอายุ คิดเป็นร้อยละ ๑๖ ของประชากรทั้งประเทศ เป็นเพศชายจำนวน ๔.๖ ล้านคน และเพศหญิงจำนวน ๕.๗ ล้านคน และในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสบูรณ์์ และปี พ.ศ. ๒๕๗๔ จะเข้าสูสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด โดยจะมีประชากรสูงอายุมากถึงร้อยละ ๒๘ (มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย ๒๕๕๘) นอกจากนี้ผู้สูงอายุมีแนวโน้มอยู่คนเดียวหรืออยู่ลำพังกับคู่สมรสเพิ่มขึ้น และมีความจำเป็นต้องพึ่งพาการดูแลโดยผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพังกับคู่สมรสเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ ๒๐.๖ ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด เป็นผู้สูงอายุวัยปลาย (อายุ ๘๐ ปีขึ้นไป) มีมากถึงร้อยละ ๒๔ ที่ต้องการดูแลปรนนิบัติ และผู้สูงอายุที่ต้องการดูแลแต่ขาดผู้ดูแลมีสัดส่วนมากถึงร้อยละ ๔ ของผู้สูงอายุวัยปลายทั้งหมด ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหาด้านสุขภาพ (อ้างอิง) โดยเฉพาะโรคเรื้อรัง จึงทำให้มีแนวโน้มของการเป็นภาวะพึ่งพิงเพิ่มสูงขึ้นและต้องการการเกื้อหนุนหรือพึ่งพา การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วดังกล่าวได้ส่งผลกระทบทั้งทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมโดยรวมของประเทศ

จากสถานการณ์ดังกล่าว รัฐบาลจึงเล้งเห็นความสำคัญของการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จึงได้มีการเตรียมการรองรับปัญหาการดูแลผู้สูงอายุดังกล่าว เนื่องจากแนวโน้มประชากรสูงอายุมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและเป็นผู้สูงอายุกลุ่มที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และต้องอยู่ในภายวะพึ่งพิง มีจำนวนประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ คน หรือคิดเป็นร้อยละ ๑.๕ ของประชากรผู้สูงอายุ ประกอบกับโครงสร้างของครอบครัวไทยเปลี่ยนแปลงจจากครอบครัวขยายกลายเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ทำให้กำลังหลักในการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกในครอบครัวมีแนวโน้มลดลงและการย้ายถิ่นฐานของวัยแรงงานไปทำงานต่างถิ่นมากขึ้น จขึงส่งผลให้ผู้สูงอายุขาดคนดูแลโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ด้วยเหตุผลนี้พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี จึงมอบหมายให้พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมุนุษย์ โดยได้สังการให้กรมกิจการผู้สูงอายุดำเนินการศึกษารูปแบบการดำเนินงานธนาคารเวลาที่ได้ดำเนินงานธนาคารเวลาที่ได้ดำเนินการในต่างประเทศ และนำแนวทางดังกล่าวมาปรับใช้ให้เหราะสมกับบริบทของประเทศไทย

กรมกิจการผู้สูงอายุ โดยศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม (ศพส.นพ) จึงได้ดำเนินการธนาคารเวลาสำหรับการดูแลผู้สุงอายุของประเทศไทย ร่วมกับภาคีเครือข่าย ซึ่งการดำเนินงานธนาคารเวลาสำหรับการดูแลผู้สุงอายุของประเทศไทย จะเป็นการดำเนินงานที่ให้อาสาสมัครเข้ามามีส่วนร่วมให้การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงทั้งกลุ่มที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยในการทำกิจวัตรประจำวันและกลุ่มที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ในการทำกิจวัตรประจำวัน

         
  วัตถุประสงค์
    เพื่อพัฒนามาตรฐานกลไกในการส่งเสริมให้คนทุกกลุ่มวัยในสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้สุงอายุ
    เพื่อแก้ไขปัญหาผู้สุงอายุที่ขาดผู้ดูแล โดยเฉพาะผู้สุงอายุที่อยุ่ในภาวะพึ่งพิง และทุกข์ยากเดือดร้อน
         
  วิธีการดำเนินงาน
    จัดประชุม/อบรม/สัมมนา
    ส่งเสริม สนับสนุนให้พื้นที่นำร่องขับเคลื่อนธนาคารเวลาสำหรับการดูแลผู้สูงอายุ
    นิเทศ ติดตามการดำเนินงานและประเมินผลการดำเนินงานในพื้นที่นำร่อง
    รายงานผลการดำเนินงาน
         
  กลุ่มเป้าหมาย/ตัวชี้วัด
    อปท. ผู้นำชุมชน ชมรมผู้สูงอายุ ผู้มีจิตอาสาเข้าร่วมโครงการธนาคารเวลาฯ ผู้สุงอายุที่อ่ยู่ในภาวะพึ่งพิงและทุกข์ยากเดือดร้อนในพื้นที่นำร่อง และภาคีเครือข่ายในพื้นที่นำร่อง
       
  พื้นที่และระยะเวลาการดำเนินการ
    ใน ๖ พื้นที่ ได้เแก่
    ๑. องค์การบริหารส่วนตำบลนาคูณใหญ่ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม
    ๒. เทศบาลตำบลวัฒนา อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร
    ๓. เทศบาลตำบลท่าก้อม อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร
    ๔. เทศบาลตำบลนาป่าแซง อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ
    ๕. เทศบาลตำบลนาเยีย อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี
    ๖. องค์การบริหารส่วนตำบลสร้างถ่อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
    ระยะเวลาดำเนินการ เดือนมกราคม ๒๕๖๒-กันยายน ๒๕๖๒
         
  หน่วยงานที่รับผิดชอบ
    ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม (ศพส.นพ)
         
  งบประมาณ
    จากงบประมาณปี ๒๕๖๒ แผนงาน : บูรณาการสร้างความเสมอภาคเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ผลผลิต : โครงการพัฒนาระบบการคุ้มครองทางสังคมผู้สุงอายุ กิจกรรมหลัก : ส่งเสริมมาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุ งบดำเนินงาน : โครงการธนาคารเวลาสำหรับการดูแลผู้สุงอายุของประเทศ เป้าหมาย ๖ พื้นที่ จำนวนเงิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท (สามแสนบาทถ้วน)
       
  ผลผลิตโครงการ
    มีมาตรฐานกลไกในการส่งเสริมให้คนทุกกลุ่มวัยในสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุที่มีประสิทธิภาพต่อเนื่องและเป็นระบบ
    สามารถแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุที่ขาดผู้ดูแล โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงและทุกข์ยากเดือดร้อน
  ผลลัพธ์โครงการ
    ผู้สูงอายุที่ขาดผู้ดูแลโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงและทุกข์ยากเดือดร้อน
    เป็นการประหยัดงบประมาณของส่วนราชการในการดำเนินงานดูแลผู้สูงอายุในสังคม
       
  ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    คนทุกกลุ่มวัยในสังคมมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ
    ผู้สูงอายุได้รับการดูแล โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงและทุกข์ยากเดือดร้อน
    องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดงบประมาณสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของผู้เข้าสู่วัยผู้สูงอายุในชุมชนของตนเอง
       
  ผลการดำเนินงาน
    โครงการธนาคารเวลาสำหรับการดูแลผู้สูงอายุของประเทศไทย
 

 

  ๖. โครงการพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมการเรียนรู้ผู้สูงอายุในชุมชน (โรงเรียนผู้สูงอายุ)

     
 

หลักการและเหตุผล
    จากสถานการณ์ด้านผู้สูงอายุของประเทศไทย จึงต้องมีการเตรียมพร้อมให้สังคมและชุมชน สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรอย่างเหมาะสม รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงอายุ จึงได้กำหนดนโยบายในการบริหารการแผ่นดิน ด้านสังคมเรื่อง "การลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุที่มีคุณภาพ" และได้ผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต กรมกิจการผู้สูงอายุ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและตอบสนองนโยบายดังกล่าว ถึงได้ส่งเสริมศักยภาพและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุในรูปแบบโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยใช้พื้นที่ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) ๒๐ แห่ง เป็นฐานในการขับเคลื่อนภารกิจ เพื่อช่วยเพิ่มพูนความรู้ ทักษะชีวิตที่จำเป็นและมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ครอบคลุมทั้งมิติ ๔ ด้าน ได้แก่ สุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมและบริการสาธารณะ โดยวิทยากรจิตอาสาหรือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขณะเดียวกันก็เป็นพื้นที่ ที่ผู้สูงอายุได้แสดงศักยภาพ โดยการถ่ายทอดภูมิความรู้ ประสบการณ์ที่สั่งสมแก่บุคคลอื่น เพื่อสืบสานภูมิปัญญาได้ คงคุณค่าคู่กับชุมชน ซึ่งผู้สูงอายุเป็นทุนทางสังคมที่มีศักยภาพ สมควรส่งเสริมให้เป็นทรัพยากรที่เข้มแข็งและมีคุณค่าให้ยาวนานที่สุด กิจกรรมที่เป็นประโยชน์นี้จะทำให้ผู้สูงอายุปิติสุขได้บริหารกาย จิต สังคม เป็นบุคคลที่พัฒนาไปตามกาลสมัยพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง พึ่งตนเองได้ และสามารถเป็นพลังให้การพึ่งพาแก่ชุมชนและสังคม โดยบูรณาการความร่วมมือจากหน่วยงานองค์กร เครือข่ายที่เกี่ยวข้องผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งโครงการนี้สามารถสนับสนุนการดำเนินงานของ ศพอส. ให้เกิดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องให้มีการบริหารจัดการที่เข้มแข็งยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมาใช้พื้นที่ ศพอส. ในรูปแบบชของการใช้บริการจัดสวัสดิการต่างๆ แต่ผู้สูงอายุและชุมชน ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม จึงได้กำหนดจัดโครการพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมการเรียนรู้ผู้สูงอายุในชุมชน (โรงเรียนผู้สูงอายุ) ขึ้นในพื้นที่จังหวัดนครพนม
         
  วัตถุประสงค์
    เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ
    เพื่อส่งเสริมสร้างสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและจิตใจ สามารถปรับตัวและดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมในสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการรวมกลุ่มพัฒนาทักษะความรู้ที่เหมาะสม
         
  วิธีการดำเนินงาน
    ประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือจากพื้นที่
    คัดเลือก และแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ
    จัดทำแผนขั้นตอนในการดำเนินงาน
    กำหนดการเรียนการสอนตามหลักสูตรฯ
    ขับเคลื่อนการดำเนินงาน
    รายงานผลการดำเนินงาน
  กลุ่มเป้าหมาย
    ผู้สูงอายุที่มีความสนใจเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน ๒๗๐ คน
  พื้นที่และระยะเวลาดำเนินการ
    ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดนครพนม ระยะเวลาดำเนินการ เดือนธันวาคม ๒๕๖๒ - กันยายน 2562
  หน่วยงานที่รับผิดชอบ
    ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม
  งบประมาณ
    จากงบประมาณปี ๒๕๖๒ แผนงานยุทธศาสตร์ สร้างความมั่นคงและลดความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ผลผลิต การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมการใช้ศักยภาพทางสังคม กิจกรรมหลักที่ ๑ การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมการการใช้ศักยภาพทางสังคม งบดำเนินงาน โครงการพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมการเรียนรู้ผู้สูงอายุในชุมชน (โรงเรียนผู้สูงอายุ) เป้าหมาย ๒๗๐ คน จำนวนเงิน ๒๕๘,๕๐๐ บาท
  ผลผลิตโครงการ
    ผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพ ๒๗๐ คน
  ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    ผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมการเรีบนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพ สามารถปรับตัวและดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมในสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
       
  ผลการดำเนินงาน
    โครงการพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมการเรียนรู้ผู้สูงอายุในชุมชน (โรงเรียนผู้สูงอายุ)
       
 

ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม (ศพส.นพ.)
๑๐๑ หมู่ ๑๓ ถนนสายนครพนม-ท่าอุเทน กม.ที่ ๒๐
ตำบลโนนตาล อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ๔๘๑๒๐
โทรศัพท์ ๐-๔๒๐๕-๐๐๕๕-๖ โทรสาร ๐-๔๒๐๕-๐๐๕๖

ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม
หน่วยงานราชการในสังกัด
กรมกิจการผู้สูงอายุ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์