ที่อยู่อาศัย เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เป็นสถานที่ที่รวมความเป็นครอบครัวให้เป็นหนึ่งเดียว หล่อหลอมสมาชิกในสังคมมีการถ่ายทอดวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ปลูกฝังนิสัย เจตคติ ค่านิยมให้แก่ทุกคน ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของความมั่นคงของมนุษย์ที่มีความสำคัญที่สุด
การเป็นสังคมผู้สูงอายุนอกจากผู้สูงอายุจะประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพแล้วยังมีปัญหาด้านสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย โดยปัจจุบันประชากรผู้สูงอายุประเทศไทยประมาณร้อยละ ๗๕ มีถิ่นที่อยู่อาศัยในชนบท ซึ่งส่วนใหญ่มีสภาพแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุไม่มีความเหมาะสมปลอดภัย เกิดความเสี่ยงในการดำรงชีวิต จากข้อมูลของทะเบียนราษฏร์ กรมการปกครอง ปี ๒๕๕๗ ประเทศไทยมีผู้สูงอายจำนวน ๙,๑๑๐,๗๕๔ คิดเป็นร้อยละ ๑๔.๐๖ ของประชากรทั้งประเทศ และจากคาดประมาณประชากรประเทศไทยของสำนักงานเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประเทศไทยจะมีจำนวนผู้สูงอายุสูงเพิ่มมากขึ้น โดยในปี ๒๕๖๓ มีจำนวน ๑๒,๖๒๒ ล้านคน คิดเป็น ๑๗.๕๑ ปี ๒๕๗๓ จำนวน ๑๗,๖๒๔ ล้านคน คิดเป็น ๒๕.๑๒ ดังนั้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกของผูู้สูงอายุให้เหมาะสมและปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อการเตรียมความพร้อมอีกวิธีหนึ่ง ทั้งในด้านการที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายที่เปลี่ยนไปสภาพแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลง ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนมให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ในมิติการเสริมสร้างการปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อคนทุกวัยจึงได้ดำเนินโครงการนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมอีกวิธีหนึ่ง ทั้งในด้านการจัดการที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป
อปท. พิจารณาคัดเลือกบ้านผู้สูงอายุ ตามคุณสมบัติและลักษณะที่กำหนดโดยวิธีการประชาคม
ผลการดำเนินงาน
การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย สะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากร ทั้งในเมืองชนบท จากข้อมูลของทะเบียนราษฎร์กรมการปกครอง ปี๒๕๕๗ ประเทศไทยมีผู้สูงอายุจำนวน ๙๑๑๐๗๕๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๔.๐๖ ของประชากรทั้งประเทศ และจากคาดประมาณประชากรประเทศไทยของสำนักงานเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติประเทศไทยจะมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมาขึ้นโดยในปี ๒๕๖๓ มีจำนวน ๑๒.๖๒๒ ล้านคน คิดเป็น ๑๗.๕๑ ปี ๒๕๗๓ มีจำนวน ๑๗.๒๖๔ ล้านคน คิดเป็นร้อยละ ๒๕.๑๒ จากสถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้รัฐบาลต้องเร่งวางนโยบายและมาตรการต่างๆ เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ และให้การดูแลคุ้มครองให้ครอบคลุม ทั้งผู้สูงอายุที่อยู่ในสภาวะ ติดบ้าน ซึ่งมีจำนวนร้อยละ ๑๙ และสภาวะติดเตียง จำนวนร้อยละ ๑.๕ รวมทั้งการให้การส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุในสภาวะติดสังคมซึ่งจำนวนร้อยละ ๗๙.๕ ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ครอบคลุม ๔ มิติ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และสภาพแวดล้อมและบริการสาธารณะสุขซึ่งมิติด้านสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุเป็นประเด็นสำคัญประเด็นหลักหนึ่งที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้ความสำคัญ โดยเฉพาะแนวคิดเรื่องเมืองน่าอยู่ของผู้สูงอายุ (Age-Friendly) โดยที่ได้กำหนดกรอบการพิจารณาเมืองน่าอยู่สำหรับผู้สูงอายุไว้ 8 ประเด็น ดังนี้คือ
๑. ที่อยู่อาศัย
๒. การเข้าไปมีส่วนร่วมในสังคม
๓.การได้รับการยอมรับในสังคม
๔. การมีส่วนร่วมของท้องถิ่นและการจ้างงาน
๕. การเข้าถึงข้อมูลข่าสวสารและการสื่อสาร
๖. การสนับสนุนของชุมชนและการบริการด้านสุขภาพ
๗. สภาพพื้นที่ภายนอกพื้นที่และตัวอาคาร
๘. ระบบขนส่งมวลชน
ดังนั้น เพื่อให้เกิดความครอบคลุมในหลายพื้นที่และมีความต่อเนื่องอันจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และดัชนีชี้วัดความสุขคนไทยเพิ่มขึ้น ตามแนวคิดที่กรมสุขภพจิตได้ให้คำจำกัดความของความสุขว่าหมายถึง สภาพชีวิตที่เป็นสุข รวมทั้งให้เกิดความครอบคลุมในเรื่องคุณภาพชีวิตที่ดี มิติที่มี ๔ ด้าน สภาพแวดล้อมและบริการสาธารณะ ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม (ศพส.นพ) จึงได้ดำเนินโครงการเสริมสร้างชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้มีการเกื้อกูลต่อการดำรงชีวิตด้วยตนเองของผู้สูงอายุ ลดการพึ่งพิงภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชนสังคม ผ่านกลไกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งผลต่อการเข้าถึงอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ บนพื้นฐานของการเคารพของการเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุ
ด้วยสถานการณ์ที่ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแกล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยมีประชากรผู้สูงอายุร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ และในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ มีจำนวนประชากรสูงอายุ คิดเป็นร้อยละ ๑๖ ของประชากรทั้งประเทศ เป็นเพศชายจำนวน ๔.๖ ล้านคน และเพศหญิงจำนวน ๕.๗ ล้านคน และในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสบูรณ์์ และปี พ.ศ. ๒๕๗๔ จะเข้าสูสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด โดยจะมีประชากรสูงอายุมากถึงร้อยละ ๒๘ (มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย ๒๕๕๘) นอกจากนี้ผู้สูงอายุมีแนวโน้มอยู่คนเดียวหรืออยู่ลำพังกับคู่สมรสเพิ่มขึ้น และมีความจำเป็นต้องพึ่งพาการดูแลโดยผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพังกับคู่สมรสเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ ๒๐.๖ ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด เป็นผู้สูงอายุวัยปลาย (อายุ ๘๐ ปีขึ้นไป) มีมากถึงร้อยละ ๒๔ ที่ต้องการดูแลปรนนิบัติ และผู้สูงอายุที่ต้องการดูแลแต่ขาดผู้ดูแลมีสัดส่วนมากถึงร้อยละ ๔ ของผู้สูงอายุวัยปลายทั้งหมด ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหาด้านสุขภาพ (อ้างอิง) โดยเฉพาะโรคเรื้อรัง จึงทำให้มีแนวโน้มของการเป็นภาวะพึ่งพิงเพิ่มสูงขึ้นและต้องการการเกื้อหนุนหรือพึ่งพา การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วดังกล่าวได้ส่งผลกระทบทั้งทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมโดยรวมของประเทศ
จากสถานการณ์ดังกล่าว รัฐบาลจึงเล้งเห็นความสำคัญของการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จึงได้มีการเตรียมการรองรับปัญหาการดูแลผู้สูงอายุดังกล่าว เนื่องจากแนวโน้มประชากรสูงอายุมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและเป็นผู้สูงอายุกลุ่มที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และต้องอยู่ในภายวะพึ่งพิง มีจำนวนประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ คน หรือคิดเป็นร้อยละ ๑.๕ ของประชากรผู้สูงอายุ ประกอบกับโครงสร้างของครอบครัวไทยเปลี่ยนแปลงจจากครอบครัวขยายกลายเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ทำให้กำลังหลักในการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกในครอบครัวมีแนวโน้มลดลงและการย้ายถิ่นฐานของวัยแรงงานไปทำงานต่างถิ่นมากขึ้น จขึงส่งผลให้ผู้สูงอายุขาดคนดูแลโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ด้วยเหตุผลนี้พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี จึงมอบหมายให้พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมุนุษย์ โดยได้สังการให้กรมกิจการผู้สูงอายุดำเนินการศึกษารูปแบบการดำเนินงานธนาคารเวลาที่ได้ดำเนินงานธนาคารเวลาที่ได้ดำเนินการในต่างประเทศ และนำแนวทางดังกล่าวมาปรับใช้ให้เหราะสมกับบริบทของประเทศไทย
กรมกิจการผู้สูงอายุ โดยศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม (ศพส.นพ) จึงได้ดำเนินการธนาคารเวลาสำหรับการดูแลผู้สุงอายุของประเทศไทย ร่วมกับภาคีเครือข่าย ซึ่งการดำเนินงานธนาคารเวลาสำหรับการดูแลผู้สุงอายุของประเทศไทย จะเป็นการดำเนินงานที่ให้อาสาสมัครเข้ามามีส่วนร่วมให้การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงทั้งกลุ่มที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยในการทำกิจวัตรประจำวันและกลุ่มที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ในการทำกิจวัตรประจำวัน
๖. โครงการพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมการเรียนรู้ผู้สูงอายุในชุมชน (โรงเรียนผู้สูงอายุ)
ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม (ศพส.นพ.) ๑๐๑ หมู่ ๑๓ ถนนสายนครพนม-ท่าอุเทน กม.ที่ ๒๐ ตำบลโนนตาล อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ๔๘๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๔๒๐๕-๐๐๕๕-๖ โทรสาร ๐-๔๒๐๕-๐๐๕๖
ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม หน่วยงานราชการในสังกัด กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์